สื่อและใบความรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบทางเทคโนโลยี
ระบบทางเทคโนโลยี
ระบบทางเทคโนโลยี หมายถึง ระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก และแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน
องค์ประกอบของระบบทางเทคโนโลยี ประกอบด้วย
1. ตัวป้อน (Input)
2. กระบวนการ (Process)
3. ผลผลิต (Output)
4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วัสดุ เครื่องมือพื้นฐาน กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
วัสดุ (Materials)
เครื่องมือพื้นฐาน
กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การออกแบบเชิงวิศวกรรม
การออกแบบเชิงวิศวกรรม
ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ 5 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 แนวคิดเชิงคำนวณ
แนวคิดเชิงคำนวณ
การคิดอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน เป็นกระบวนการที่มนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้
องค์ประกอบแนวคิดเชิงคำนวณ ประกอบด้วย
1. การแตกปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition) คือ การแตกปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย ซับซ้อนน้อยลง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง
คอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบ หน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด ลำโพง เคส
รถจักรยาน ประกอบด้วย แฮนด์ ล้อ โครงรถ เบาะ โซ่ จานโซ่ เบรก บังโคลน
2. การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition) คือ การเข้าใจรูปแบบของปัญหา โดยแบ่งกลุ่มจากสิ่งที่มีรูปแบบเหมือนกัน คล้ายกัน รวมกลุ่มเป็นปัญหาย่อยเดียวกัน
ตัวอย่าง
การจัดชั้นหนังสือ ในห้องสมุด โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ดิวอี้ (รูปแบบของดิวอี้)
การจัดจานผลไม้ตามฤดูกาล (รูปแบบของผลไม้ในภาคต่าง ๆ)
3. การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) คือ การคิดรวบยอด โดยไม่สนใจสิ่งที่ไม่จําเป็นของวิธีการแก้ปัญหา **สังเกตสิ่งที่ไม่เหมือนกัน**
ตัวอย่าง
สุนัข มีอวัยวะที่เหมือนกัน แต่มีสายพันธ์ุที่แตกต่างกัน
รถยนต์ มีโครงสร้างที่คล้ายกัน แต่มียี่ห้อที่แตกต่างกัน
4. การออกแบบขั้นตอนวิธี (Algorithm) คือ การคิดอย่างเป็นลําดับขั้นตอนในการแก้ปัญหา โดยผู้อื่นต้องสามารถนําไปปฏิบัติตามได้ผลสําเร็จ 100% คําสั่งที่ใช้นั้นต้องไม่กํากวม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การพัฒนาโครงงาน
การพัฒนาโครงงาน
เป็นการศึกษาอิสระจากสิ่งที่สนใจ โดยใช้ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์